//ทำไมเราถึงแก่ #3 นาฬิกาชีวิต (Biological Rhythms)

ทำไมเราถึงแก่ #3 นาฬิกาชีวิต (Biological Rhythms)

ทฤษฎีที่ 3 ที่เกี่ยวกับความแก่ชราที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับความลับที่เก็บไว้ในยีนที่อยู่ใน DNA ของมนุษย์ บางคนเรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” หรือการตั้งโปรแกรมล่วงหน้าแต่ละช่วงอายุ ว่าในแต่ละช่วงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายให้แก่ชราอย่างไรบ้าง นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมียีนบางตัวถูกเปิด ให้แสดงออกมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงโดยแก่เพิ่มขึ้น แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ค้นพบว่ามียีนที่ต้านความแก่ชราที่สามารถปิดสวิตช์ยีนที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราได้เช่นกัน เรียกว่ายีนเซอร์ทูอิน (Sirtuin)

ทำไมเราถึงแก่ #3 นาฬิกาชีวิต (Biological Rhythms)

ยีนเซอร์ทูอินถูกค้นพบครั้งแรกในยีสต์ หลังจากนั้นจึงพบในแมลงวัน หนู ลิง คน และต่อมาก็พบว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกส่วนมากก็มียีนส์เซอร์ทูอิน ยีนส์เซอร์ทูอินนี้มีความสามารถในการยับยั้งความแก่ชรา และควบคุมปฏิกิริยาที่ผิดปกติในเซลภูมิคุ้มกัน หน้าที่การทำงานเหล่านี้สามารถชะลอความแก่ชราและยืดอายุขัยออกไปได้

โดยปกติยีนเซอร์ทูอินจะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้โดยการอดอาหารและการจำกัดแคลอรี่ ยีนเซอร์ทูอินของคนในปัจจุบันที่บริโภคอาหารอย่างอิ่มหนำสำราญส่วนมากจะอยู่ในภาวะหลับ ไหลซึ่งเป็นผลให้ไม่มีการยับยั้งกระบวนการแก่ชรา ดังนั้นการค้นหาสารที่จะสามารถกระตุ้นการทำงานของยีนเซอร์ทูอินได้จะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขสู่การชะลอวัย

By | 2017-07-05T12:33:11+07:00 December 19th, 2015|ศาสตร์ชะลอวัย|Comments Off on ทำไมเราถึงแก่ #3 นาฬิกาชีวิต (Biological Rhythms)