ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งมีหน้าที่การทำงานที่หลากหลายเพื่อปกป้องร่างกายจากจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคและในขณะเดียวกันผิวหนังก็ขับเหงื่อและซีบัมเพื่อปกคลุมผิวหนังชั้นนอกเป็นชั้นฟิล์มเสมือนเป็นกำแพงป้องกันภายนอก นอกจากผิวหนังจะมีความสามารถสูงในการนำพาเลือดแล้ว ก็ยังเป็นระบบควบคุมความร้อน และเป็นกำแพงป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกซึมเข้าออก อีกทั้งยังมีการทำงานต่างๆ เช่น การรับความรู้สึก การรับสัมผัส ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การรับรู้ความเจ็บปวด และอื่นๆ
โครงสร้างของผิวหนัง
ผิวหนังประกอบด้วยชั้นผิวหนัง 3 ชั้น อันได้แก่ “ชั้นหนังกำพร้า” ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก “ชั้นหนังแท้” ซึ่งเป็นชั้นที่มีต่อมไขมัน และ “ชั้นไขมัน” ซึ่งเป็นผิวชั้นที่อยู่ล่างสุด
1. ชั้นหนังกำพร้า
“ชั้นหนังกำพร้า” (Epidermis) เป็นผิวหนังส่วนที่บางมากและเป็นส่วนนอกสุดที่สัมผัสกับอากาศ ทำหน้าที่ปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายเสมือนเป็นเกราะป้องกันต่อการรุกรานจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น น้ำ รังสีอัลตร้าไวโอเลต แบคทีเรีย เป็นต้น ชั้นหนังกำพร้าแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ ชั้นสตราตัม คอร์เนียม (Stratum corneum) ชั้นสตราตัม แกรนูโลซัม (Stratum granulosum) ชั้นสตราตัม สไปโนซัม (Stratum spinosum) และชั้นสตราตัม เบซาเล (Stratum basale)
2. ชั้นหนังแท้
ผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังชั้นนอกเรียกว่า “ชั้นหนังแท้” (Dermis) เป็นชั้นผิวที่ช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยชั้นผิวมีความหนาซึ่งประกอบด้วยน้ำและสารอื่นๆ จำนวนมากเช่น คอลลาเจน อิลาสติน กรดไฮยาลูโรนิก เดอร์มาทันซัลเฟต เป็นต้น กรดไฮยาลูโรนิกเป็นตัวสร้างโปรตีโอไกลแคนจากการทำปฏิกิริยาระหว่างเดอร์มาทันซัลเฟตกับคอลลาเจน นอกจากนี้ ในผิวหนังยังมีเส้นเลือดฝอย ท่อน้ำเหลือง เส้นประสาท ไขมัน รากขนและอื่นๆ นอกเหนือจากการนำพาสารอาหารที่จำเป็นไปหล่อเลี้ยงผิวหนังทั่วร่างกายแล้ว ผิวหนังก็ยังขับไขมันออกมาช่วยสร้างชั้นฟิล์มไขมันเพื่อปกป้องผิวหนังอีกด้วย
3. ชั้นไขมัน
ผิวหนังชั้นที่อยู่ล่างสุดเรียกว่า “ชั้นไขมัน” (Subcutaneous tissue) ส่วนมากเป็นไขมันใต้ผิวหนังที่ทำหน้าที่รักษาอุณหภูมิของร่างกาย เป็นเสมือนหมอนรองรับแรงกระแทกจากภายนอก และยังรับหน้าที่สำคัญในการเป็นเสมือนแหล่งเก็บพลังงานอีกด้วย